กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ Art Workshop ในโครงการสุขศิลป์แบบองค์รวมเพื่อการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนศิลปะเด็กพิการภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2565

11/06/2022

กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ Art Workshop ในโครงการสุขศิลป์แบบองค์รวมเพื่อการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนศิลปะเด็กพิการภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2565

277137581 333961128782206 7933382420159995111 n

วันที่ 20 มีนาคม 2565 
ภาพบรรยากาศกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ Art Workshop ในโครงการสุขศิลป์แบบองค์รวมเพื่อการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนศิลปะเด็กพิการภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดย รศ.ลิปิกร มาแก้ว กิจกรรมที่ ๑ อบรมเชิงปฏิบัติการ Art Workshop ครูผู้สอน โรงเรียนเฉพาะความพิการ ภาคเหนือ และโรงเรียนเครือข่าย จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ เฮินศิลป์ใจยอง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) เพื่อเป็นการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิชาชีพ และวิธีการสอนศิลปะรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ครูผู้สอนศิลปะ จำนวน 40 คน ในโรงเรียนเฉพาะความพิการภาคเหนือ และโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาพิเศษ ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปบูรณาการในการเรียนการสอนในชั้นเรียน ให้แก่เด็กพิการและเด็กพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจมากขึ้น 

โดยในวันที่ 19 มีนาคม 2565 ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ วงษ์พานิช รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วยกิจกรรมการบรรยายพิเศษและ Art Workshop โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้แก่ การบรรยาย “Creative Thinking” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระ จูน้อยสุวรรณ คณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ Art Workshop : เทคนิคประติมากรรมนูนต่ำ โดย อาจารย์ธัญญารัตน์ ทองใจ อาจารย์สาขาศิลปกรรม หลักสูตรทัศนศิลป์ Art Workshop : เทคนิคแม่พิมพ์ลายฉลุหลากสี โดย รศ.ลิปิกร มาแก้ว อาจารย์สาขาศิลปกรรม หลักสูตรทัศนศิลป์ Art Workshop : เทคนิคการสร้างพื้นหลังด้วยสีอะคริลิค โดย อาจารย์เนติ พิเคราะห์ อาจารย์สาขาศิลปกรรม หลักสูตรทัศนศิลป์ บรรยายพิเศษ “การสร้างแรงบันดาลใจทางศิลปะ” ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ โดย อาจารย์พรชัย ใจมา ศิลปินศิลปาธร ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ 

กิจกรรมในวันที่ 20 มีนาคม 2565 กิจกรรม Art Workshop : เทคนิค Mono print โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีใจ กันทะวัง ผู้อำนวยการ Srijai Art Studio อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ การบรรยายพิเศษ “การสร้างแรงบันดาลใจทางศิลปะ” โดย อาจารย์พิชัย นิรันต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ณ หอศิลป์ อาจารย์พิชัย นิรันต์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กิจกรรม Art Workshop : เทคนิคสีน้ำ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา พลวิฑูรย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม , ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ,บริษัท นานมี จำกัด,คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ,เฮินศิลป์ ใจ๋ยอง โดยมีระยะเวลาดำเนินงานระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2565 แบ่งเป็น 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 พิธีเปิดโครงการและการอบรมเชิงปฏิบัติการ Art Workshop โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา บรรยายให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ แก่ ครูผู้สอนเด็กพิการภาคเหนือและโรงเรียนเครือข่ายโดย ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินศิลปาธร และวิทยาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะ ในระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่๑๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๕ 

กิจกรรมที่ 2 ครูผู้สอนฝึกปฏิบัติการทางศิลปะ และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักเรียนพิการ ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนเฉพาะความพิการภาคเหนือ และโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาพิเศษ

กิจกรรมที่ 3 การประกวดผลงานศิลปะจากเด็กพิการ ดำเนินงานระหว่างวันที่ 13 – 22 มิถุนายน 2565 ณ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา

กิจกรรมที่ 4 นิทรรศการแสดงผลงานศิลปะ และส่งมอบผลงานศิลปะ ให้กับสถาบันการพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 ณ เฮินศิลป์ ใจ๋ยอง

ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารโครงการได้ที่เพจ:
https://www.facebook.com/profile.php?id=100076937828136

276171648 333960848782234 5497476928472600526 n
277077103 333961165448869 5191214398679133387 n
277096573 333960968782222 5722100609155728707 n
277096837 333961062115546 2285859271475180059 n
277097302 333960845448901 3232995738428223427 n
277097302 333960898782229 1692002232689024296 n
277100381 333961092115543 5906512931817352902 n
277102358 333960828782236 868327523924507496 n
277108151 333961015448884 2449212549186619154 n
277110046 333960938782225 1162400722994682394 n
277110076 333961215448864 5042670395668461465 n
277149619 333961058782213 7207424110629940138 n
277158741 333960908782228 6778599835593906037 n
277164174 333960985448887 773174800115694117 n
277170812 333961142115538 7390376426252537249 n