สศร.โดยกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่ม CHATLAB ที่ขับเคลื่อนความร่วมมือในการ MOU และได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานเครือข่ายศิลปะร่วมสมัยจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ณ จังหวัดสกลนคร
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567
นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มอบหมายให้นางสาวสุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุนเข้าร่วมงานพร้อมคณะโดยมีนางสาวศิริวัฒน์ แสนเสริม ผู้แทนคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นายขัตติยา ชัยมณี วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยนางสาวสิริกานต์ ประภาศรี นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ สำนักงบประมาณ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการเทศกาล “ปลูกผัง ต่างจังหวัด – คอนโดกี่” ได้เยี่ยมชมบ้านกี่ และรับฟังการบรรยายโดยคุณฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล ศิลปินศิลปาธร สาขาสถาปัตยกรรม ปี 2563 ร่วมกับคุณปราชญ์ นิยมค้า ศิลปินและนักสร้างสรรค์ย้อมครามธรรมชาติระดับโลก เจ้าของสวนแมนครีเอทีฟคราฟ เซ็นเตอร์ สกลนคร เปิดพื้นที่สตูดิโอทอผ้า และพื้นที่สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมธรรมชาติ ณ สวนแมนครีเอทีฟคราฟเซ็นเตอร์
โดยการจัดงานครั้งนี้เป็นการสร้างสรรค์ทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของการพัฒนาบริบทวัฒนธรรมชนบทที่หลอมรวมการพัฒนาในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะเชิงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ช่วยเชื่อมโยงชาวชุมชนพื้นถิ่นกับผู้มาเยือน กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในชุมชน กิจกรรมต่าง ๆ ในเทศกาลฯ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม และยังเป็นการสร้างพื้นที่แสดงออกทางศิลปะให้กับเครือข่ายศิลปินในพื้นที่ ซึ่งจะได้มีการขยายผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ต่อไป ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2567 ณ สวนแมนคราฟครีเอทีฟเซ็นเตอร์ สกลนคร
ในวันที่ 9 ธันวาคม 2567 คณะได้ลงพื้นที่ชุมชนยลวิถีท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร ศึกษาดูงานในด้านมิติวัฒนธรรม พร้อมเยี่ยมชมอาสนวิหาร พิพิธภัณฑ์ บ้านโบราณ 100 ปี และพบเครือข่ายศิลปินสกลนครเพื่อหารือด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนงานสู่เมืองงาม 3 ธรรม “นครธรรม เมืองร่มเย็น” “นครแห่งธรรมชาติ”” และ “นครวัฒนธรรมประเพณี”